“มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มุ่งเน้นการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีทักษะความชำนาญด้านวิชาชีพ เสริมสร้างทุนมนุษย์ที่มีมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศไทย”
01 ข้อมูลทั่วไป
สถานที่ตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ตั้งอยู่ที่ 39 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองหก  อำเภอคลองหลวง  จังหวัดปทุมธานี 12120

ประวัติของคณะโดยสังเขป
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อว่า “คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี” วิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษา ต่อมาปี พ.ศ. 2532 มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนชื่อวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยยกเลิก คณะวิศวกรรมเทคโนโลยี และประกาศใน พระราชกิจจานุเบกษา ใช้ชื่อใหม่ว่า “คณะวิศวกรรมศาสตร์” โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2537 ซึ่งได้ย้ายมาทำการเรียนการสอน ณ ถนนรังสิต-นครนายก กม.13 ตำบลคลองหก อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงอยู่ในการแบ่งส่วนราชการใหม่ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

การเดินทาง สามารถใช้บริการรถประจำทางหลายสาย มาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เช่น
– รถยนต์โดยสารประจำทางร่วมบริการ (ขสมก.) สาย ปอ.538 (อนุสาวรีย์ชัยฯ – ราชมงคลธัญบุรี)
– สาย 188 (ม.เกษตรศาสตร์ บางเขน – ราชมงคลธัญบุรี)
– รถยนต์โดยสารประจำทาง สาย 381 (ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต – การเคหะคลองหก)
– สาย 1156 (ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต – ราชมงคลธัญบุรี)
– รถตู้โดยสารประจำทาง ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต – หมู่บ้านพรธิสาร คลองหก
– รถยนต์โดยสารประจำทางร่วมบริการของบริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) (สาย กรุงเทพฯ – รังสิต – องครักษ์ – นครนายก – ปราจีนบุรี) ลงป้ายจอดรถยนต์โดยสารประจำทาง หน้าโรงพยาบาลธัญบุรี

สภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตั้งอยู่ในพื้นที่ประมาณ 740 ไร่ ติดกับบึงพระราม 9 และคลองหก ดังนั้นจึงทำให้มีสภาพอากาศเย็นสบายตลอดปี และมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดให้มีการปลูกต้นไม้ และรณรงค์การใช้จักรยานเพื่อลดมลพิษทางอากาศ และสร้าง Cover Way เพื่อให้นักศึกษาสามารถเดิน ติดต่อกันระหว่างอาคารเรียนได้

02 การรับรองมาตรฐาน
– คณะฯได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2000 ทั้งคณะฯ จาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2547
– สภาวิศวกร รับรองหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี สำหรับผู้ที่เข้าศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 ถึงปีการศึกษา 2550 สำหรับสาขา วิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า -แขนงไฟฟ้ากำลัง สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรม อุตสาหการ สาขาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม แขนงไฟฟ้าสื่อสาร และสาขาวิศวกรรมเคมี

03 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มีการลงนามความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ใน และต่างประเทศ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มหาวิทยาลัย RWTH-AACHEN ประเทศสหพันธรัฐ เยอรมนี มหาวิทยาลัย Kyoto ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

04 ปฏิทินการศึกษา
การสอบคัดเลือกตรง ของมหาวิทยาลัยฯ จำหน่ายใบสมัครสอบตรง ช่วงเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ ปีถัดไป รับสมัคร ช่วงเดือนกันยายน – กุมภาพันธ์ ปีถัดไป สอบคัดเลือก ประมาณกลางเดือนมีนาคม ประกาศผลการสอบ ประมาณกลางเดือนมีนาคม ลงทะเบียนเรียน ประมาณเดือนมีนาคม เปิดภาคการศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ประมาณต้นเดือนมิถุนายน และ ภาคการศึกษาที่ 2 ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน ภาคการศึกษาฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนมีนาคม ปีถัดไป สอบปลายภาค ภาคการศึกษาที่ 1 ประมาณต้นเดือนตุลาคม ภาคการศึกษาที่ 2 ประมาณต้นเดือนมีนาคม ปีถัดไป ภาคการศึกษาฤดูร้อน ประมาณปลายเดือนพฤษภาคม ปีถัดไป พิธีพระราชทานปริญญาบัตร ช่วงประมาณเดือนกันยายน-พฤศจิกายน (โปรดอ่านประกาศที่มหาวิทยาลัยแจ้ง)

การสอบคัดเลือกจาก สกอ. รับนักศึกษา และสอบคัดเลือก ตามประกาศของ สกอ.

05 ค่าใช้จ่าย ภาคปกติ* ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียน … บาทต่อภาคการศึกษา ภาคสมทบ** ค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเรียนประมาณ … บาทต่อภาคการศึกษา หมายเหตุ – เป็นค่าใช้จ่ายโดยประมาณเท่านั้น ขึ้นกับจำนวนหน่วยกิตที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียน (สำหรับระดับปริญญาตรี) – *ภาคปกติ จัดการเรียนการสอนในเวลาราชการ
– **ภาคสมทบ จัดการเรียนการสอนนอกเวลาราชการ
– ระดับปริญญาโท ตลอดหลักสูตรประมาณ 150,000 บาท

06 หลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาตรี
1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งทอ
6. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ
7. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องนุ่งห่ม
8. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ
9. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
10. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
11. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
12. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลาสติก
13. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์
14. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมจักรกลการเกษตร
15. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
16. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอาหาร

หลักสูตรการศึกษาระดับปริญญาโท
1. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
2. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
3. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
4. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งทอ
5. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
6. หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์

07 ข้อจำกัดในการสมัคร
วุฒิผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี
หลักสูตร 4 ปี รับผู้จบมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) วิทย์-คณิต หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามสาขาวิชาช่างที่กำหนด
หลักสูตร 3 ปี (ยกเว้นรายวิชา) รับผู้จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ตามสาขาวิชาช่างที่กำหนด ใช้เวลาเรียน 3 ปี (ภาคปกติ) และ 3? ปี (ภาคพิเศษ)

วุฒิผู้เข้าศึกษาระดับปริญญาโท
หลักสูตร 2 ปี รับผู้จบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) หรือเทียบเท่า หรือวุฒิที่สำนักงานบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์พิจารณาแล้วเห็นว่าเหมาะสม (ตามสาขาวิชาเอก)

08 บริการ และสิ่งอำนวยความสะดวก
– ร้านค้าสหกรณ์ของมหาวิทยาลัยฯ และร้านสะดวกซื้อ (7 Eleven) ที่โรงอาหารมหาวิทยาลัยฯ
– หอพักนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยฯ (แยกชาย-หญิง) ฯลฯ

09 ผลงานดีเด่น
– หุ่นยนต์ Turnpro EN Robot จากภาควิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ได้แชมป์ TPA PLC Robo golf Competition 2006 (เดือน กรกฎาคม 2549)
– เครื่องยนต์แก๊สซิไฟเออร์จากการเผาไหม้ถ่านไม้ ขนาด 1 กิโลวัตต์ ผลงานจาก ผศ.ศุภวิทย์ ลวณะสกุล (ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล)
– ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คว้าแชมป์การแข่งขันการใช้เอทานอลกับรถจักรยานยนต์ ประเภทลดมลพิษ จัดโดยคณะกรรมาธิการพลังงาน
สภาผู้แทนราษฎรและได้รับถ้วยรางวัลของอดีตนายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)
– โครงการวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนจากเส้นใยไหมไทย 100% ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานวิจัยและ พัฒนาการทหาร กลาโหม ร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมสิ่งทอ
– นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับรางวัลการแข่งขันหุ่นยนต์ชิงแชมป์ประเทศไทย (ชนะเลิศ และรองชนะเลิศ) ของ สสท. ประจำปี 2542 ฯลฯ